ตั้งเเต่อดีตจนถึงอดีตปัจจุบัน วัดกำเเพงมีเจ้าอาวาสรวม ๕ รูป
โดยมีลำดับประวัติดังต่อไปนี้
พระมหาพีระพล ฉายา ฐานจาโร อายุ ๔๙ ปี พรรษา ๒๔
วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, ป.บส, ศษ.ม, ศษ.ด.วัดกำแพง แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดกำแพง
ชื่อ พีระพล นามสกุล นาคะจักรวาล ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ บิดา นายสัจจา มารดา นางวัชรินทร์ บ้านเลขที่ ๓๙๔/๑๐๗ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร
วัน ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ วัดกำแพง แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร พระอุปัชฌาย์ พระครูเกษมธรรมาภินันท์ วัดกำแพง แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร พระกรรมวาจาจารย์ พระครูวิบูลวัฒนวิธาน วัดสิงห์ แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร พระอนุสาวนาจารย์ พระฉลวย ปิยธมฺโม วัดกำแพง แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
พระครูพิศาลปริยัติยานุกูล มีนามเดิมว่า อนันต์ ทรัพย์ปานา เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธุ์ พ.ศ. ๒๕๐๐
ประถมศึกษาปีที่ ๔ นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดราชโอรสาราม แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เปรียญธรรม ๔ ประโยค สำนักเรียนวัดราชโอรสาราม แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๖๑ สำเร็จ ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบาลีพุทธศาสตร์ (พธ.บ.) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส
อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ณ วัดกำแพง แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร โดยมี พระครูอุดมสิกขกิจ วัดสิงห์ แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปลัดเผื่อน เขมานนฺโท วัดกำแพง แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูผาสุการโกวิท วัดเลา แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ครูสอนปริยัติธรรมในสำนักศาสนศึกษา วัดกำแพง
พระครูเกษมธรรมาภินันท์
รักษาการเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๕๑๕ แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๕๑๖ ถึง พ.ศ.๒๕๕๘
–
พระครูเกษมธรรมาภินันท์ (อาจารย์เผื่อน เขมานนฺโท)มีนามเดิมว่า เผื่อน สังข์คุ้ม ท่านมีสูติกาลเมื่อ วันจันทร์ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๒ ปีมะเส็งโยมบิดาชื่อว่านาย ผิว สังข์คุ้ม โยมมารดาชื่อว่านาง แป้น สังข์คุ้ม
ท่านมีพี่น้องรวม ๖ คน
๑. นายเผือด สังข์คุ้ม
๒. นายผล สังข์คุ้ม
๓. นายผัน สังข์คุ้ม
๔. นายผิน สังข์คุ้ม
๕. พระอาจารย์เผื่อน สังข์คุ้ม
๖. นายสมโภชน์ สังข์คุ้ม
พระครูเกษมธรรมาภินันท์ (อาจารย์เผื่อน สังข์คุ้ม) บรรพชาเมื่อ อายุ ๑๔ ปี (พ.ศ. ๒๔๘๔) โดยหลวงปู่ไปล่ ฉนฺทสโร บวชให้เป็นสามเณรอยู่ ๖ ปี ได้เล่าเรียนนักธรรมตรี-โท-เอก จนจบทุกชั้นในขณะที่ยังเป็นสามเณรได้นักธรรมตรี พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้นักธรรมโท พ.ศ. ๒๔๘๗ ได้นักธรรมเอก พ.ศ. ๒๔๘๘ เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยมีพระเทพญานมุนี (ผวน ภัทธโร) วัดจอมทอง (วัดราชโอรสาราม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์คือ พระครูสาธรธรรมกิจ (บุญยัง ติณโอโค) และพระอนุสาวนาจารย์คือ พระครูชุบ โอภาโส
พระครูเกษมธรรมาภินันท์ เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีจริยวัตรงดงาม มีเมตตา ท่านเป็นอาจารย์สอนปฏิบัติธรรม ในการปกครองและพัฒนาวัดท่านก็ได้ดำเนินตามแนวทางของมหาเถรสมาคม ตลอดจนระเบียบปฏิบัติของคณะสงฆ์ไทย โดยทำการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัดให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยสวยงาม หมั่นอบรมพระภิกษุสามเณรให้ตั้งอยู่ในพระธรรมวินัยอันดีงาม มีเมตตาโอบอ้อมอารีต่อพุทธศานิกชนทั่วไปเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้
วัน ๑ ๘ ค่ำปีฉลู วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ วัดกำแพง แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร พระอุปัชฌาย์ พระญาณรังสี วัดราชโอรสาราม แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ใบสุทธิที่ ๕๖๘/๒๔๙๒ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒
พระครูชุบ โอภาโส
พระครูชุบ โอภาโส ฉายา ฐานจาโร อายุ ๔๙ ปี
วิทยฐานะ
น.ธ.เอก,ป.ธ.ต.,ป.บส,ศษ.ม,ศษ.ด.
วัดกำเเพง เเขวงเเสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
ปัจจุบันดำรงตำเเหน่ง เจ้าอาวาสวัดกำเเพง
พระครูชุบ โอภาโส เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๕๘ ลักษณะรูปร่างของท่านสูง ผอมแกร่ง ท่านมีเมตตาสูงเป็นที่เคารพของพระภิกษุภายในวัด ท่านเป็นพระคู่สวดกับพระอาจารย์ฉ่อง อุตตโม วัดสิงห์ (พระครูอุดม สิกขกิจ) โยมบิดาชื่อ จิ พึ่งฟัก โยมมารดาชื่อ นางฉาย พึ่งฟัก โยมเลี้ยงชื่อ โยมพลัด บ้านของท่านมีอาชีพทำนา อาจารย์ชุบเป็นผู้ที่มีความจำเป็นเลิศ เวลาสวดพระอธิธรรมสังคหะเสียงดังฟังชัด เสียงก้องกังวานมีความไพเราะเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ที่ได้รับฟังเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นท่านยังมีพรสวรรค์ในการเขียนลายกนก ลายไทย และตอกภาพได้สวยงามในยุคสมัยนั้น
หลวงพ่อไปล่ ฉนฺทสโร
–
ท่านเกิดที่บ้านหมู่บางบอน วันอังคาร พ.ศ. ๒๔๐๘ ปีฉลู
เป็นบุตรนายเมฆ นางเหม ทองเหลือ นายเมฆนั้นเป็นคนเมืองตากได้นำยาเหนือ (ยาเส้น) มาขายที่หมู่บ้านบางบอนเป็นประจำจึงได้รู้จักแต่งงานกับอำแดงเหม มีบุตรชายหญิง ๕ คน คือ ๙.๑ นายพุ่ม อ่อนทรัพย์ (ใช้นามสกุลทางภรรยา) ๙.๒ หลวงพ่อไปล่ ฉนฺทสโร (ทองเหลือ) ๙.๓ นางคร้าม พลับทอง ๙.๔ นายมั่น ทองเหลือ ๙.๕ นายกิ๊ว ทองเหลือ นายเมฆเมื่อได้แต่งงานอยู่กินกับอำแดงเหมแล้วไม่นาน จึงได้เลิกทำการค้าขายยาเหนือ หันมาประกอบอาชีพทำนาตามอย่างภรรยา ซึ่งได้ทำมาหาเลี้ยงครอบครัวได้รับความสุขตามสมควร เมื่อนายพุ่มได้แต่งงานไปแล้ว นายไปล่จึงทำหน้าที่พี่คนโตอยู่ในบ้านแทน ต้องช่วยพ่อแม่ดูแลการทำไร่ไถนา ตลอดจนงานบ้านการครัว นายไปล่ก็มีความสามารถไม่แพ้ผู้หญิง กล่าวกันว่ามีความถนัดในการใช้กระด้งตะแกรงได้เป็นอย่างดี เช่นการผัด การร่อน การกระทก และกระทาย เป็นต้น รวมทั้งการดูแลพวกน้องๆ เป็นหูเป็นตาแทนพ่อแม่ได้เป็นอย่างดี ด้วยนายไปล่มีนิสัยสุภาพอ่อนโยน และเลื่อมใสศาสนามาตั้งแต่เยาว์ เมื่อครั้งที่หลวงพ่อคงมาบูรณปฏิสังขรณ์ ท่านได้เปิดสำนักเรียนขึ้นสอนหนังสือให้กับผู้ที่มีความประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทและเด็กชายที่อยู่ในหมู่บ้านบน บ้านล่าง นายไปล่มีอายุพอที่จะเรียนหนังสือได้แล้ว นายเมฆผู้เป็นพ่อจึงได้นำมาฝากเรียนหนังสือกับหลวงพ่อคง แต่ทว่าไปเรียนเฉพาะวันที่ว่างจากการช่วยเหลือพ่อแม่ทำไร่ทำนาเท่านั้น แต่ด้วยนายไปล่เป็นคนฉลาดสามารถเรียนได้ไม่แพ้ผู้ที่เล่าเรียนอยู่กินนอนประจำทุกวัน ด้วยความฉลาดเฉลียวของนายไปล่ จึงเป็นที่รักใคร่ถูกอัธยาศัยของหลวงพ่อคงเป็นอันมาก ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี จึงได้บวชเป็นพระ ณ พัทธสีมา วัดกำแพง (ชาวบ้านไม่เรียกว่าวัดสว่างอารมณ์) มีหลวงพ่อคง…เป็นอุปัชฌาย์ หลวงพ่อดิษฐ์…วัดกก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ คู่กับหลวงพ่อทัศน์…วัดสิงห์
หลวงพ่อคง
วัดกำเเเพงในสมัยก่อนเป็นวัดทีไม่มีพระภิกษุจำพรรษามาระยะหนึ่ง จนกระทั่งมีพระธุดงค์รูปหนึ่งนามว่า พระอาจารย์คง ท่านเดินธุดงค์ผ่านมาพบเห็นว่าเป็นวัดที่มีความสงบเงียบ จึงได้ปักกลดที่นี่ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดต่อการปฏิบัติพระธรรมวินัยที่มีความรู้ เเตกฉาน ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดเเห่งนี้ (วัดกำเเพง บางขุนเทียน) ตลอดจนช่วยเหลือชาวบ้านเเละต่อนหนังสือให้เเก่เด็กๆในละเเวกนี้ จนเป็นที่เคารพเลื่อมใส ศรัทธาของชาวบ้านมาก
ต่อมาภายหลังเมือท่านมีอายุมากขึ้น สุขภาพของหลวงพ่อไม่ค่อยดีมีอาการหน้ามืดหมดสติในบางครัั้ง ท่านจึงลาสิกขามาเป็นฆราวาสชาวบ้านเรียกท่านว่า ท่าน คฤหัสถ์ ได้อาศัยพักอยู่ภายในวัด หลังลาสิกขาเเล้วอาการป่วยดังกล่าวกลับไม่เกิดขึ้นอีกเลย จากคำบอกเล่าต่อๆกันมาว่าหลวงพ่อคงท่านได้ปฏิบัติถือศิลโดยนุ่งขาวอาศัยอยู่ในวัดกำเเพงจวบจนถึงเเก่กรรม เเละหลวงปู่ไปล่ ฉนุทสโรได้เป็นประธานจัดการฌาปนกิจศพท่านอย่างสมเกียรติ